กปิตัน เหล็ก พ่อค้า ชาว ตะวันตก ที่ ช่วยเหลือ กรุงธนบุรี ใน การ จัดหา อาวุธ มา สู้ รบ กับ พม่า คือ ชนชาติ ใด (2023)

1. การค้ากับชาวต่างชาติในสมัยกรุงธนบุรี - กรมศิลปากร

  • ในเวลาต่อมาพระยาราชกปิตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการเกาะปรินซ์ ออฟ เวลส์ (Governor of Prince of Wales) หรือเจ้าเมืองปีนังคนแรก แต่เขาก็ยังคงมีบทบาทพ่อค้าอาวุธกับราชอาณาจักรไทยอยู่อย่างต่อ ...

  •                                                            สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช                                                                               จิตรกรรมฝาผนังในพระราชวังเดิม แสดงการรบที่จันทบุรี    กรุงธนบุรีศรีมหาสมุท (๑) ชื่อเดิมว่า เมืองบางกอก เป็นเมืองที่เคยเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่และมีความเจริญ รุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลายเมื่อพ.ศ.๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนศรีมหาสมุทรแห่งนี้เป็นราชธานีแห่งใหม่  กรุงธนบุรีมีอายุครบรอบ ๒๕๐ ปีแห่งการสถาปนาเป็นราชธานีของไทย เมื่อพ.ศ.๒๕๖๐ มีความสำคัญและเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยไม่แพ้ราชธานีใด  เพราะการก่อกำเนิดของราชธานีแห่งนี้เกิดขึ้นจากความเสียสละและจิตใจอันกล้าหาญเด็ดเดี่ยวยิ่งของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้ทรงอุทิศทั้งแรงกายและแรงใจของพระองค์ด้วยความวิริยะอุตสาหะ  พระองค์ทรงตรากตรำทั้งพระวรกายและทรงทุ่มเทแรงใจเพื่อนำพาเหล่าบรรพชนผู้กล้าหาญเข้ากรำศึกกับข้าศึกศัตรูทั้งจากภายในและภายนอก  เพื่อให้ได้มาซึ่งการดำรงอยู่ของคนไทยจนนำไปสู่การตั้งราชธานีแห่งใหม่และกอบกู้เสถียรภาพของชาติไทยให้กลับคืนมาได้อีกครั้ง             พระมหากรุณาธิคุณอันเป็นที่ประจักษ์ชัดของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็คือการสถาปนาศูนย์กลางอำนาจของราชอาณาจักรไทยขึ้นสืบต่อจากกรุงศรีอยุธยาที่ถูกพม่าทำลายจนพินาศย่อยยับได้สำเร็จ  และกลายเป็นหลักแหล่งมั่นคงที่เป็นรากฐานให้กรุงเทพมหานครได้เติบโตตามมาจนมีอายุสองร้อยกว่าปีในปัจจุบัน  ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ต้องแลกมาด้วยการสูญเสียเลือดเนื้ออันเกิดจากความรักชาติและความเสียสละของพระยาตากอย่างแท้จริง  ดังนั้นคงไม่ใช่เรื่องที่จะพูดกันแต่เพียงว่าท่านคือผู้กอบกู้เอกราช  เพราะพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่นอกเหนือกว่านั้นคือพระราชปณิธานและวีรกรรมอันมุ่งมั่นที่สร้างชาติบ้านเมืองให้กลับมาหยัดยืนสืบแทนอยุธยาให้ได้อีกครั้ง  หากปราศจากพระองค์ท่าน ประเทศไทยในวันนี้จะเป็นเช่นไรก็คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการได้              ภายหลังจากที่ทรงปราบดาภิเษก  พระราชภารกิจสำคัญลำดับแรกของพระเจ้าตากสินมหาราชก็คือการสร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น  แต่การกอบกู้ชาติบ้านเมืองของพระองค์ในระยะแรกเริ่มเต็มไปด้วยความยาก ลำบากแสนสาหัส  ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวของประชาชนและสภาพบ้านเมืองที่ถูกข้าศึกทำลายจนย่อยยับจนเกิดสภาวะจลาจลไปทั่วทุกหนแห่งในขณะนั้น   การที่จะทำให้บ้านเมืองมีเสถียรภาพเพื่อให้ผู้คนเกิดความเชื่อมั่นที่จะกลับเข้ามาดำเนินชีวิตตามปกติอีกครั้งจึงไม่ใช่เรื่องง่าย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่บ้านเมืองยังเต็มไปด้วยปัญหาภายในซับซ้อนหลายด้าน   ประกอบกับภาวะศึกสงครามก็ยังไม่ได้สงบลงอย่างแท้จริง  ยังคงมีทั้งศึกภายนอกและศึกภายในมาจากทุกภูมิภาค  มีการตั้งตนเป็นใหญ่ของผู้นำชุมนุมต่างๆ ได้แก่  ชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ชุมนุมเจ้าเมืองพิษณุโลก (เรือง) ชุมนุมเจ้าพิมาย (กรมหมื่นเทพพิพิธ) และชุมนุมเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (หนู)  ดังนั้นการจะสร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง  ในลำดับแรกพระองค์จึงทรงต้องปราบปรามชุมนุมที่ต่างฝ่ายก็พยายามจะแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจเพื่อตั้งตนขึ้นมาเป็นใหญ่เสียก่อน  ซึ่งต้องใช้ทั้งสรรพกำลังและต้องสูญเสียเลือดเนื้อมิใช่น้อย                สิ่งที่สร้างความยากลำบากเพิ่มมากขึ้นก็คือเหตุแห่งทุพภิกขภัย หรือภัยแห่งการขาดแคลนอาหารภายในบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจากภาวะสงคราม   เกิดข้าวยากหมากแพงและขาดแคลนอาหารอย่างหนัก เพราะราษฎรพากันทิ้งไร่ทิ้งนาในระหว่างศึกสงคราม  ดังนั้นในยามที่ว่างเว้นจากการกรำศึกเพื่อกอบกู้เอกราช  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ยังทรงต้องแก้ปัญหาปากท้องทั้งของราษฎรและกองทัพ  พระองค์ทรงเริ่มชักจูงให้ราษฎรค่อยๆ อพยพกลับสู่กรุงธนบุรีเพื่อกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติ  เหตุผลหนึ่งที่ทรงเลือกเมืองธนบุรีนั้น  เพราะแต่เดิมเมืองธนบุรีเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทั้งทางด้านยุทธศาสตร์และการค้า และเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาตอนต้น  เป็นเมืองเกษตรกรรมและอาชีพหลักของประชาชนคือการทำสวนผลไม้ หมู่บ้านส่วนใหญ่ที่อยู่ริมน้ำปลูกเป็นกระท่อมไม้ไผ่เรือนยกสูงเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม  โดยปลูกบ้านเป็นแนวยาวไปตามแนวทางน้ำ ถัดเข้าไปตอนในจึงเป็นที่นาหรือป่าละเมาะ  ลักษณะการทำสวนของเมืองธนบุรีซึ่งเป็นแบบยกท้องร่อง  เป็นลักษณะการทำสวนแบบชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งและมณฑลกวางสี  จึงมีความเป็นไปได้ว่าชาวจีนตอนใต้ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามปากแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว               ในเมืองธนบุรีมีการทำเกษตรกรรมที่ให้ผลผลิตดี  สินค้าสำคัญของธนบุรีที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นประเภทผลไม้และหมาก(๒) แต่ในขณะนั้นการทำไร่ทำนาก็ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรเพราะฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล  สภาวะการขาดแคลนดังกล่าวนี้ปรากฏตรงกันอยู่ในบันทึกของชาวต่างชาติหลายฉบับ  เช่นที่ปรากฏข้อความในบันทึกของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ว่า“..เมื่อข้าพเจ้าได้ไปในเมืองไทยได้เห็นราษฎรพลเมืองซึ่งได้รอดพ้นมือพม่าไปได้นั้น ยากจนเดือดร้อนอย่างที่สุด ในเวลานี้ดูเหมือนดินฟ้าอากาศจะช่วยกันทำโทษพวกเขา ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล ชาวนาได้หว่านข้าวถึง ๓ ครั้งก็มีตัวแมลงคอยกินรากต้นข้าวและรากทุกอย่าง โจรผู้ร้ายก็ชุกชุมมีทั่วไปทุกหนแห่ง เพราะฉะนั้นถ้าจะไปไหนก็ต้องมีอาวุธติดตัวไปด้วยเสมอ..”(๓)               สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อรับซื้อข้าวสารจากเรือสำเภาของชาวต่างชาติในราคาสูงเพื่อนำมาแจกจ่ายแก่ราษฎร  ชาวบ้านที่เคยหลบหนีออกไปอยู่ตามป่าเขาจึงเริ่มอพยพกลับเข้ามาในกรุงธนบุรีเพิ่มมากขึ้น  แม้แต่ชาวต่างชาติที่ได้ร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ในช่วงนี้ก็ยังได้บันทึกไว้เช่นกันว่า “..ภายใต้สถานการณ์ที่เลวร้ายนี้ พระยาตากได้แสดงให้เห็นถึงพระเมตตากรุณาของพระองค์ ความขัดสนไม่ได้ทำให้อดอยากต่อไปอีกนานนัก  เพราะพระองค์ทรงเปิดพระคลังหลวงเพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ ชาวต่างชาติได้ขายผลิตผลซึ่งไม่มีในประเทศสยามให้โดยต้องใช้เงินสดซื้อ ทรงใช้พระเมตตากรุณาของพระองค์เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงความถูกต้องในการเข้ายึดครองอำนาจ  ทรงลบล้างเรื่องการกดขี่  ความปลอดภัยทั้งในเรื่องชีวิตและทรัพย์สินได้ฟื้นคืนกลับมา..”(๔)             ส่วนในพระราชพงศาวดารก็ได้บันทึกไว้เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ว่า “ข้าวสารเป็นเกวียนละ ๒ ชั่ง  อาณาประชาราษฎรขัดสน  จึงทรงพระกรุณาให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทำนาปรัง”(๕) แม้กระทั่งระดับเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์(๖) ซึ่งเป็นแม่ทัพก็ยังต้องมาคุมทำนาพื้นที่ฝั่งซ้ายขวา  กินเนื้อที่กว้างให้เป็นทะเลตมเพื่อป้องกันข้าศึก  และในเวลาต่อมาเมื่อบ้านเมืองได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ  กรุงธนบุรีจึงได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายทั้งกับชาติตะวันออกและตะวันตก  ทางตะวันออกพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ส่งเรือสำเภาไปค้าขายถึงเมืองจีนตลอดจนอินเดียใต้  แต่กว่าที่จะเปิดการค้ากับราชสำนักจีนได้นั้นพระเจ้าตากต้องส่งพระราชสาสน์ไปเมืองจีนถึง ๔ ครั้ง(๗) เพื่อให้จีนรับรับรองฐานะความเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของสยาม พระราชสาสน์ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินส่งไปถวายจักรพรรดิจีน                         รายการเครื่องราชบรรณาการที่ส่งไปยังราชสำนักจีน จักรพรรดิเฉียนหลง                              หลังจากตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ส่งพระราชสาสน์ไปเมืองจีนเพื่อถวายพระเจ้าเฉียนหลงจักรพรรดิจีนเพื่อให้รับรองฐานะกษัตริย์พระองค์ใหม่  โดยส่งพระราชสาสน์ไปกับเรือสินค้าของพ่อค้าจีน ชื่อ หยังจิ้นจง เนื้อความในพระราชสาสน์อธิบายการขึ้นครองราชย์ของพระองค์  พร้อมทั้งขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตซื้อเหล็กและปืนใหญ่มาทำสงครามกับพม่า  แต่ในปีเดียวกันหัวหน้าชุมนุมต่างๆ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระก็ได้ส่งพระราชสาสน์ไปถวายพระเจ้าเฉียนหลงเพื่อให้ทรงรับรองฐานะการเป็นกษัตริย์ของสยามด้วยเช่นกัน  ครั้งนั้น พระเจ้าเฉียนหลงจึงได้ตอบปฏิเสธการรับรองฐานะของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  รวมทั้งปฏิเสธการขอซื้อเหล็กและปืนใหญ่ด้วย(๘)               การเจริญไมตรีทางการทูตกับจีนในอีก ๓ ครั้งต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๓๑๘ พ.ศ.๒๓๒๐ และพ.ศ.๒๓๒๑  ทำให้กรุงธนบุรีได้รับการตอบรับด้วยไมตรีจากจักรพรรดิจีนมากยิ่งขึ้น  ในที่สุดสมเด็จพระจักรพรรดิจีนก็ทรงพระราชทานสิทธิให้กรุงธนบุรีสามารถทำการค้ากับจีนได้เต็มที่เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา โดยไม่ต้องจำกัดอยู่แค่เมืองกวางตุ้งเช่นในระยะแรกๆ(๙) สินค้าที่กรุงธนบุรีซื้อจากจีนนั้น  ได้แก่ กำมะถัน กระทะเหล็ก แผ่นทองแดง เหล็ก เป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออกมากที่สุดของกรุงธนบุรีจะเป็นพวกของป่า ได้แก่ ไม้ฝาง ไม้แดง ไม้ดำ รวมทั้งการค้าพริกไทยซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เกิดจากความชำนาญด้านการเพาะปลูกของชาวจีนอพยพซึ่งส่วนใหญ่เป็นจีนแต้จิ๋ว  และมีแหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ตามเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออก  รวมทั้งที่เมืองสงขลาซึ่งมีชาวจีนฮกเกี้ยนอยู่เป็นจำนวนมาก  สำหรับไม้ฝางนั้นนอกจากจะใช้ส่งออกแล้ว ยังเป็นสินค้าที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นด้วย(๑๐) จะเห็นได้ว่าเวลาที่ประเทศจีนได้เปิดสัมพันธไมตรีการค้าอย่างเต็มที่กับกรุงธนบุรีเป็นยามที่บ้านเมืองเริ่มมีความมั่นคง  แม้ในระยะแรกจีนจะปฏิเสธความสัมพันธ์กับกรุงธนบุรีมาโดยตลอด เพราะมองว่าพระองค์เป็นคนธรรมดาสามัญ   แต่ท้ายที่สุดจีนก็ยอมรับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมากขึ้น  สังเกตได้จากหลักฐานบันทึกที่มีการออกพระนามพระองค์ว่า “เจิ้งเจา” ในช่วงปลายรัชสมัย  นอกจากนั้นเมื่อมีการส่งคณะทูตเพื่อถวายพระราชสาสน์อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๔   ราชสำนักจีนได้ออกพระนามพระองค์ว่า “เจิ้งเจา พระเจ้าแผ่นดินสยาม” อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการยอมรับของจีน  แต่กว่าที่จะได้มีการส่งราชทูตมาเจริญทางพระราชไมตรีอย่างเป็นทางการนั้นก็เป็นปีสุดท้ายในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพอดี(๑๑)   และจากการที่มีการเปลี่ยนรัชกาลเสียก่อน  ดังนั้นผลพลอยได้จึงตกอยู่ที่กรุงรัตนโกสินทร์แทนในเวลาต่อมา(๑๒)                สำหรับกลุ่มชาวจีนที่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของธนบุรีในขณะนั้น ก็คือชาวจีนที่หลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมาก บ้างก็ทำการค้าขายจนได้เข้ารับราชการในตำแหน่งสำคัญและมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นอย่างยิ่ง อาทิ ชาวจีนกวางตุ้งชื่อ หยังจิ้นจง รับราชการจนได้บรรดาศักดิ์เป็นโกษาธิบดี ซึ่งทำหน้าที่ดูแลซื้อขายสินค้า  ชาวจีนแต้จิ๋วชื่อ จีนมั่วเส็ง  ต่อมาโปรดฯให้เป็นหลวงอภัยพานิช หรือจีนเรือง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระพิชัยวารี  จีนฮกเกี้ยนมีขุนนางคนสำคัญคือ เฮาเหยี่ยง หรือ วูหยาง เป็นพ่อค้าจีนฮกเกี้ยนที่เดินทางมายังสงขลาและปลูกยาสูบขายจนร่ำรวย  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้เป็นเจ้าภาษีรังนกของสงขลา  ต่อเมื่อมีความดีความชอบทำอากรรังนกถวายเงินปีละ ๕๐ ชั่ง จึงแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอินทรคีรีสมบัติ(๑๓) เป็นต้น  จนอาจกล่าวได้ว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กรุงธนบุรีก้าวสู่ระบบการค้าจีนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้นั้นก็เพราะมีกลุ่มชาวจีนอพยพเป็นกำลังสำคัญ ด้วยการเป็นทั้งผู้ผลิตสินค้า ผู้จัดหา  เป็นทั้งขุนนางและลูกจ้างที่สร้างความเชื่อมโยงจนเกิดเป็นเครือข่ายการค้าในแต่ละเมืองขึ้น เครื่องราชบรรณาการที่ส่งไปถวายพระเจ้ากรุงจีน ปัจจุบันอยู่ที่ไทเป (ที่มา:kingthonburi.myreadyweb.com)                  นอกจากจะเปิดการค้ากับจีนแล้ว กรุงธนบุรีก็ยังได้ติดต่อการค้ากับชาวญวนและแขก เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเรียนรู้ภาษาทั้งสามจนทรงสามารถพูดได้อย่างชำนาญมาตั้งแต่เมื่อครั้งทรงเริ่มรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา  นอกจากนั้นก็ยังมีการทำการค้ากับญี่ปุ่นและชาติอื่นๆด้วย  แต่เป็นการค้าที่ไม่ได้สร้างรายได้ให้กรุงธนบุรีมากเท่าการค้ากับจีน  และการได้ทำการค้าที่ผ่านพ่อค้าจีนนั้นก็ยังส่งผลดีที่ทำให้การค้าเริ่มขยายตัวออกสู่วงกว้างมากขึ้นด้วย(๑๔)                 สำหรับความสัมพันธ์ที่มีกับชาติตะวันตกนั้น  มีหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในเอกสารสำคัญของฝ่ายไทยและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของกรุงธนบุรี นั่นก็คือ เรื่องจดหมายเหตุของพวกบาทหลวงฝรั่งเศส(๑๕) พวกเขาได้บันทึกเรื่องราวครั้งกรุงธนบุรีไว้  เริ่มตั้งแต่ช่วงแรกที่เดินทางเข้ามาในช่วงต้นรัชสมัย  อย่างเช่นที่มองซิเออร์คอร์บันทึกไว้ว่า “เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก พระยาตากพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ ได้ทรงต้อนรับข้าพเจ้าอย่างดี และโปรดให้ข้าพเจ้าเลือกหาที่ดินตามใจชอบ ข้าพเจ้าได้เลือกที่ไว้แห่ง ๑ เหนือหมู่บ้านพวกเข้ารีต..”(๑๖) แต่ในส่วนประเด็นสำคัญคงเป็นเรื่องชะตากรรมของชาวยุโรป  ที่ทำให้ได้รับรู้เรื่องราวของพวกคริสตังโปรตุเกสที่ต้องหนีตายจากการถูกควบคุมตัวของทหารพม่า  ตลอดจนการบันทึกในช่วงหลังการเสียกรุงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการค้าขายทั้งกับชาวอังกฤษ โปรตุเกส และฮอลันดา   หลักฐานเรื่องสินค้าสำคัญตามที่ปรากฏในบันทึก  นอกจากจะเป็นการค้าข้าวซึ่งเป็นสินค้าบริโภคที่จำเป็นยิ่งสำหรับการเสริมสร้างกำลังแก่กองทัพแล้ว  ในภาวะที่บ้านเมืองยังอยู่ในช่วงมีศึกสงครามติดพันเช่นนั้น  สินค้าอาวุธยุทโธปกรณ์ก็จะมีความสำคัญและจำเป็นไม่แพ้กัน  ดังที่ปรากฏเรื่องของการติดต่อซื้อดินปืนและปืนนานาชนิด ที่เรือสินค้าต่างชาติตามหัวเมืองชายทะเลได้บรรทุกเข้ามาจำหน่าย  การที่บาทหลวงฝรั่งเศสได้บันทึกถึงเรื่องการอาศัยเรือแขกมัวร์ไปยังบางกอก (พ.ศ.๒๓๑๓) แสดงให้เห็นว่ามีการนำเรือสินค้าเข้ามาค้าขายที่เมืองบางกอกแล้วตั้งแต่ตอน ต้นรัชสมัย  นอกจากนั้น ยังมีข้อความที่บันทึกไว้ในเวลาต่อมาว่า “ในปี พ.ศ.๒๓๒๒ แขกมัวร์จากเมืองสุราตในประเทศอินเดีย ได้นำสินค้าเข้ามาขายในกรุงธนบุรี และฝ่ายไทยก็ได้ส่งสำเภาหลวงไปค้าขายถึงอินเดีย”(๑๗)                  การค้าที่สำคัญอีกด้านหนึ่งนั้นก็คือการค้ากับฮาเตียน(๑๘) สินค้าที่นำเข้าจำนวนมากคือข้าว  นอกจากนั้นก็ยังปรากฏหลักฐานการค้ากับบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) ว่า “ในปีพ.ศ.๒๓๑๒ ออกญาพิพัทธโกศาได้ส่งจดหมายไปถึงข้าหลวงใหญ่ของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาในเมืองปัตตาเวีย เพื่อชักชวนให้กลับมาตั้งสถานีการค้าในกรุงธนบุรี และติดต่อขอซื้ออาวุธปืนจำนวน ๑,๐๐๐ กระบอก บริษัทอินเดีย ตะวันออกของฮอลันดาได้ตกลงขายปืนให้ ๕๐๐ กระบอก โดยแลกกับไม้ฝาง หากมีไม้ฝางไม่พอก็สามารถจ่ายเป็นขี้ผึ้งได้”(๑๙)  ถึงแม้บริษัทอินเดียตะวัน ออกของฮอลันดาจะไม่ได้กลับมาตั้งสถานีการค้าในธนบุรี  แต่ก็ยังมีการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอีกหลายครั้ง เช่นในพ.ศ.๒๓๑๗  ธนบุรีได้ซื้อปืนอีก ๓,๐๐๐ กระบอก  และการซื้อขายแต่ละครั้งก็ยังดำเนินการผ่านชาวจีนที่เดินเรืออยู่ระหว่างสยามและปัตตาเวีย  โดยส่วนมากเป็นการซื้ออาวุธ  รองลงมาคือข้าวและม้า(๒๐)               จากการได้ติดต่อการค้าระหว่างกรุงธนบุรีกับชาติตะวันตกในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้เราได้รู้จักพ่อค้าชาวอังกฤษ ชื่อ ฟรานซิส ไลต์ (Francis Light) ตลอดจนได้รับรู้เรื่องราวที่เขาที่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรุงธนบุรีอีกด้วย  เขาเป็นผู้ที่ทำให้กรุงธนบุรีได้ทำการซื้ออาวุธปืนกับชาติตะวันตกอีกครั้ง  และมีคุณงามความดีจนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ พระยาราชกปิตัน แก่เขาในภายหลัง(๒๑)              ฟรานซิส ไลต์ เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๒๘๘ ที่เมืองดัลลิงฮู (Dallinghoo) ซัฟฟอล์ก (Suffolk) ประเทศอังกฤษ หลังสำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการกับราชนาวีอังกฤษเป็นเวลา ๕ ปี ตั้งแต่พ.ศ.๒๓๐๒ ถึงพ.ศ.๒๓๐๖ ตำแหน่งสุดท้ายในการรับราชการคือนายเรือโท  จากนั้นจึงได้ลาออกจากราชการมาเป็นนายเรือพาณิชย์สังกัดบริษัทบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (British East India Company) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เบงกอลซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย  และเดินเรือทำการค้าอยู่ระหว่างท่าเรือตามชายฝั่งอินเดียกับคาบสมุทรมลายู  นายจอห์น ครอเฟิร์ด (John Crawfurd) ให้ข้อมูลไว้ว่า ฟรานซิส ไลต์ ได้สมรสกับสาวลูกครึ่งไทย-โปรตุเกสชาวเมืองถลาง ชื่อ มาร์ตินา โรเซล และตั้งรกรากอยู่ที่เมืองถลางมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๑๕  และต่อมาได้ย้ายศูนย์กลางการค้าไปอยู่ที่ปีนังหรือเกาะหมาก  สินค้าสำคัญที่ค้าขายอยู่ในเวลานั้นก็คือ ข้าว  ซึ่งมีลักษณะการค้าขายที่ใช้ดีบุกในการชำระอัตราค่าซื้อขายแทนการใช้เงิน  แต่สิ่งที่ทำให้การค้าของฟรานซิส ไลต์กับสยามประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งและกลายเป็นบุคคลสำคัญของภูมิภาคนี้  ก็คือการค้าอาวุธปืนนานาชนิด  โดยเฉพาะปืนใหญ่ประเภทต่างๆ รวมทั้งการค้าดินปืนให้กับเมืองถลางและเมืองชายทะเลอื่น ๆทางภาคใต้ของสยาม  เพราะขณะนั้นสยามยังขาดแคลนทั้งอาวุธและยุทธปัจจัยใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันประเทศในระหว่างการศึกกับพม่า  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงโปรดให้ฟรานซิส ไลต์เป็นธุระในการติดต่อขอซื้ออาวุธ  ซึ่งปรากฏหลักฐานในบันทึกว่า กรมการเมืองถลางซื้อปืนคาบศิลา ๙๖๒ กระบอก ปืนชาติเจะระมัด ๙๐๐ กระบอก โดยมีกปิตันมังกูเป็นผู้นำส่งมายังกรุงธนบุรี และเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับดีบุก(๒๒) ซึ่งเรื่องการค้าขายกับชาติตะวันตกในช่วงดังกล่าวนี้ก็ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ปีวอกอัฐศก (พ.ศ.๒๓๑๙) เป็นข้อความเพียงสั้น ๆว่า  “เจ้ากรุงปัญยีจัดซื้อปืนถวายเข้ามา ๑๔๐๐ และสิ่งของเครื่อบรรณาการต่างๆ”(๒๓) เพื่อมอบเป็นบรรณาการแก่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  นอกจากนี้ก็มีเอกสารต่างประเทศฉบับอื่นๆ บันทึกเหตุการณ์เดียวกันนี้ไว้ และบางฉบับ(๒๔)ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า กรุงธนบุรีได้สั่งซื้อปืนจากอังกฤษ  โดยมีจดหมาย โต้ตอบระหว่างกัน และในการจัดซื้อครั้งหนึ่ง ฟรานซิส ไลต์ได้เขียนจดหมายไปถึงนายยอร์ช สแตรตตัน(๒๕) ฉบับลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๐ ข้อความตอนหนึ่งว่า  พระเจ้าแผ่นดินสยามได้สดับว่าพม่ากำลังให้ความสนใจฝรั่งเศสมาก ลำพังพม่าพวกเดียวแล้วพระองค์ไม่กลัว แต่ทรงวิตกว่าพม่าจะเข้ารวมกับพวกฝรั่งเศสซึ่งมีอยู่มากในหงสาวดีและอังวะ จึงทรงเห็นภัยที่จะมีมาถึงประเทศ(๒๖)                ในเวลาต่อมาพระยาราชกปิตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการเกาะปรินซ์ ออฟ เวลส์ (Governor of Prince of Wales) หรือเจ้าเมืองปีนังคนแรก  แต่เขาก็ยังคงมีบทบาทพ่อค้าอาวุธกับราชอาณาจักรไทยอยู่อย่างต่อเนื่องนับจากสมัยกรุงธนบุรีเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ดังปรากฏอยู่ในเอกสารเมืองถลาง หรือจดหมายของพระยาถลางและคุณหญิงจันที่มีไปถึงฟรานซิส ไลต์  เจ้าเมืองปีนัง เอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญนี้เป็นจดหมายอักษรไทยจำนวนกว่า ๖๐ ฉบับซึ่งได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน  มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการติดต่อการค้าระหว่างพระยาราชกปิตันกับเมืองถลางในระหว่าง พ.ศ.๒๓๒๘ ถึง ๒๓๓๓  เนื้อความส่วนใหญ่บอกเล่าถึงสถานการณ์ในช่วงวิกฤตของเมืองถลาง  เมืองตะกั่วป่า และเมืองตะกั่วทุ่งภายหลังการศึกสงครามกับพม่า  สภาพบ้านเมืองที่ได้รับความเสียหาย  ยุ้งฉางข้าวที่ถูกพม่าเผาทำลายเพื่อมิให้หลงเหลือเป็นเสบียงอาหาร  จนทำให้ประชาชนต้องอดอยากขาดแคลนและการต้องใช้ดีบุกในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าต่างๆ  เป็นต้น                  แม้ยามนั้นบ้านเมืองจะตกอยู่ในภาวะศึกสงคราม  แต่ต้องยอมรับว่าการขับเคลื่อนของกลุ่มชาวจีนที่อพยพเข้ามาคือกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้กรุงธนบุรีมีการค้าที่เจริญรุ่งเรือง  ทั้งยังทำให้การติดต่อค้าขายสามารถเชื่อมโยงไปสู่อาณาจักรอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อีกด้วย  การค้าในสมัยกรุงธนบุรีทั้งการค้าภายในและภายนอกนั้นมีแต่ชาวจีนที่เป็นคนดำเนินการ  แม้แต่ชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาในช่วงนั้นก็ยังได้บันทึกว่า การค้าสำคัญของที่นี่อยู่ในมือชาวจีนทั้งหมด และพระมหากษัตริย์เองก็พอใจจะให้เป็นเช่นนั้น(๒๗)                                                                                                                                                                                                                     เรียบเรียงโดย เสาวลักษณ์ กีชานนท์                                                                                                                    นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ                                                                                                                             กลุ่มแปลและเรียบเรียง เชิงอรรถ   ๑  ปรากฏชื่ออยู่ในกฎหมายตราสามดวงว่า “เมืองธนบุรียศรีมหาสมุทร”ซึ่งแปลว่า“เมืองแห่งทรัพย์อันเป็นศรีแห่งสมุทร”    ๒  จุมพฎ ชวลิตานนท์. การค้าส่งออกของอยุธยาระหว่างพ.ศ.๒๑๕๐-๒๓๑๐.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์           คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.๒๕๓๑. หน้า๔๓.    ๓  ศิลปากร,กรม. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙. หน้า ๘๗    ๔ สมศรี เอี่ยมธรรม. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับตุรแปง. (กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิมพ์) ๒๕๕๙. น. ๒๒๓.    ๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม).(กรุงเทพ : มปท. มปป.) ๒๕๐๖. น. ๔๐.     ๖ ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือวังหน้าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ        พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช    ๗ ณัฏฐภัทร จันทวิช. ข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายและธนบุรีจากจดหมายเหตุจีน.        วารสารศิลปากร ๒๕ (พค.-กค.๒๕๒๓) น.๕๕.    ๘  จิราธร ชาติศิริ เศรษฐกิจธนบุรีในศตวรรษแห่งจีน.หน้า.๒๔๒. อ้างจาก สืบแสง พรหมบุญ เรื่อง ความสัมพันธ์ในระบบ        บรรณาการระหว่างจีนกับไทยในค.ศ.๑๒๘๒-๑๘๕๓.   ๙  จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า๒๔๓.  ๑๐  อ้างแล้ว. หน้า๒๔๗.  ๑๑  กรมศิลปากร. ทศภาค : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.(๒๕๕๙). หน้า ๒๔๑.  ๑๒  สุดารา สุจฉายา. พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากหนังสือ ทศภาค : สมเด็จพระเจ้าตากสิน        มหาราช, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.๒๕๕๙. น.๔๕.   ๑๓  จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า๒๕๒.   ๑๔  จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า ๒๔๘.   ๑๕ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙ จดหมายเหตุบาทหลวงฝรั่งเศสในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น   ๑๖  ศิลปากร, กรม.ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙. หน้า ๘๘.   ๑๗  http://wikipedia.org. ความสัมพันธ์กับต่างชาติในสมัยกรุงธนบุรี. (เข้าถึงเมื่อ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐).   ๑๘ หมายถึงเมืองพุทไธมาศ หรือบันทายมาศ ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเวียดนามติดกับกัมพูชา   ๑๙ จิราธร ชาติศิริ. เศรษฐกิจกรุงธนบุรีในศตวรรษแห่งจีน. กรุงเทพฯ : หจก.สามลดา. หน้า ๒๔๙  อ้างอิงจาก ธีรวัติ ณ ป้อม         เพชร จดหมายจากพิพัทธโกศา ถึงบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา หน้า๓๓-๔๐.    ๒๐ จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า ๒๔๙.   ๒๑   จากเอกสารและจดหมายหลายฉบับที่ข้าราชการและชาวเมืองถลางเขียนถึงฟรานซิส ไลต์ ลงวันที่เดือนปี ในพ.ศ.๒๓๒๒ ได้          เรียกเขาตามบรรดาศักดิ์อย่างชัดเจนว่า พระยาราชกปิตัน ซึ่งยังอยู่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  อย่างไรก็ดี  บาง         หลักฐาน เช่น หนังสือชุมนุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ได้อ้างว่า กัปตันฟรานซิส ไลต์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราช          กปิตันในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช   ๒๒   จิราธร ชาติศิริ. เศรษฐกิจกรุงธนบุรีในศตวรรษแห่งจีน.อ้างแล้ว. หน้า ๒๔๙.    ๒๓  กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี. (กรุงเทพฯ : มปป. มปท.) น. ๙๒   ในพระราชพงศาวดารฉบับพระ           ราชหัตถเลขาและเอกสารต่างประเทศหลายฉบับกล่าวตรงกันว่า หมายถึงกปิตันเหล็ก เจ้าเมืองเกาะหมาก    ๒๔  หนังสือ Taksin the Great by History World  Published: Lulu.com on May 15,          2013    ๒๕ George Stratton ชาวอังกฤษซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งไวซ์รอยหรือผู้สำเร็จราชการแห่งมัทราส  (Viceroy of Madras)    ๒๖  อาณัติ อนันตภาค. สองมหาราชกู้แผ่นดิน. น.๑๔.     ๒๗  จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า๒๕๔ อ้างอิงจาก Sarasin Viraphol. Tribute and Profit:Sino-Siamese trade 1652-          1853. Cambridge: Harward U.Press,1977.p.172.

การค้ากับชาวต่างชาติในสมัยกรุงธนบุรี - กรมศิลปากร

2. กรกฎาคม 2015 - ภานิลนุช

  • Jul 16, 2015 · ... เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี. กัปตันเหล็ก (ฟรานซิส ไลท์) กัปตันเหล็ก เป็นพ่อค้าชาวอังกฤษที่เข้ามามีบทบาทในกิจการค้าขายใน ...

  • 21 ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี

3. ประวัติกรุงธนบุรี | Education - Facebook

4. ท้าวศรีสุนทร เรื่องราวความเป็นมาของ วีรสตรีบนแผ่นดินถลาง บันทึกไว้ว่า ท้าว ...

  • เพื่อใช้ป้องกันพระนคร กัปตันไลท์ ได้จัดหาอาวุธปืน และยุทธปัจจัยขึ้นทูนเกล้าฯ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตามพระราชประสงค์ จึงได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์ให้เป็น พระยาราชกปิตัน พร้อมกับพระราชทานดีบุก ...

  • ประวัติท้าวเทพกระษัตรี - ท้าวศรีสุนทร เรื่องราวความเป็นมาของ วีรสตรีบนแผ่นดินถลาง บันทึกไว้ว่า ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร...

ท้าวศรีสุนทร เรื่องราวความเป็นมาของ วีรสตรีบนแผ่นดินถลาง บันทึกไว้ว่า ท้าว ...

5. [DOC] วิชา ส 32104 ใบความรู้ 2.1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประวัติศาสตร์ เรื่อง การ ...

  • ... และสิ่งของที่ใช้ในการศึกมาขาย ภายหลังได้รับพระราชทางยศเป็น พระยาราชกปิตัน ในฐานะเป็นผู้ที่มีความดีความชอบในการจัดหาอาวุธให้กับฝ่ายไทย. วิชา ส 32104, ใบงานที่ 2.5 ...

6. [PDF] ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมัยธนบุรี

  • พ่อค้าชาวอังกฤษที่ปีนังคนหนึ่ง ชื่อ ร้อยเอก ฟรานซิส. ไลท์ (Francis Light) คนไทยเรียกว่า กปิตันเหล็ก ซึ่ง. ไทยได้ติดต่อให้เป็นผู้จัดหาอาวุธมาให้ไทยใช้ต่อสู้กับพม่า.

7. [PDF] มนุษย์เมือง ว่าด้วยสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา - SWU IR

  • 107. แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12 (พ.ศ.2560-2564) .......... 108. บทที่7 เมืองหลวงของไทย กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรสู่กรุงเทพมหานคร ................

8. ประวัติศาสตร์ชาติไทย สค22020 ม.ต้น - Flip eBook Pages 101-116 | AnyFlip

  • Apr 25, 2020 · ตา่ งร่วมป้องกันกรุงธนบุรีในการสู้รบกับพม่า แต่ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่ของไทยกับจีนเป็นเร่ือง การค้าขาย ในสมัยกรุงธนบุรี ปรากฏว่า มีสาเภาของพ่อค้าจีนเข้ามาติดต่อค้าขายตลอดรัชกาล และทาง ...

  • View flipping ebook version of ประวัติศาสตร์ชาติไทย สค22020 ม.ต้น published by maw.nfe on 2020-04-25. Interested in flipbooks about ประวัติศาสตร์ชาติไทย สค22020 ม.ต้น? Check more flip ebooks related to ประวัติศาสตร์ชาติไทย สค22020 ม.ต้น of maw.nfe. Share ประวัติศาสตร์ชาติไทย สค22020 ม.ต้น everywhere for free.

9. ประวัติพระยาวชิรปราการโดยละเอียด

  • พระองค์ก็ได้ใช้เวลาเพียง ๗ เดือนเท่านั้น ก็สามารถกู้ชาติประกาศ อิสรภาพได้อย่างสำเร็จงดงาม เมื่อปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่ง กรุงธนบุรี พระองค์ยังต้องทำศึกสงครามสู้รบกับคนไทยด้วยกันเอง ที่ตั้งก๊กแบ่งกลุ่ม ...

  • (1/1)

10. หนังสือมองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ by Lakmuang Online - Issuu

  • Mar 14, 2013 · ความรู้เรื่องพลช้าง การใช้อาวุธรวมทั้งการสู้รบบนหลังช้างตามที่อธิบายนี้ ดู เหมือนจะสอดคล้องกับภาพวาดจิตรกรรมที่เกี่ยวกับยุทธหัตถี น่าจะเป็นเพราะช่างเขียน ได้เคยพบเห็นด้วยประสบการณ์จริง ...

  • หนังสือมองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

หนังสือมองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ by Lakmuang Online - Issuu

11. taeiloveyoutoo

  • Aug 13, 2013 · ผลดีประการหนึ่งของสงครามคราวเสียกรุงคือมีผู้คนอพยพมาสร้างความเจริญแก่ท้องที่อื่นให้ดีขึ้นกว่าสมัยอยุธยามาก กรุงธนบุรีได้กลายมาเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของไทยแทนกรุงศรีอยุธยาเดิมที่ถูกเผา ...

taeiloveyoutoo

12. 902

  • Jun 13, 2018 · อาวุธที่มนุษย์รุ่นแรกๆ ประดิษฐ์ขึ้นมาที่เก่าสุด คือ หอกไม้ (wooden spear)
    . มีปลายแหลมลักษณะคล้ายแหลนที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาพุ่งแหลนสมัยปัจจุบัน จำานวน ๓
    . ชิ้น และไม้ช่วย ...

  • Read the latest magazines about 902 and discover magazines on Yumpu.com

902
Top Articles
Latest Posts
Article information

Author: Fredrick Kertzmann

Last Updated: 13/12/2023

Views: 5277

Rating: 4.6 / 5 (66 voted)

Reviews: 89% of readers found this page helpful

Author information

Name: Fredrick Kertzmann

Birthday: 2000-04-29

Address: Apt. 203 613 Huels Gateway, Ralphtown, LA 40204

Phone: +2135150832870

Job: Regional Design Producer

Hobby: Nordic skating, Lacemaking, Mountain biking, Rowing, Gardening, Water sports, role-playing games

Introduction: My name is Fredrick Kertzmann, I am a gleaming, encouraging, inexpensive, thankful, tender, quaint, precious person who loves writing and wants to share my knowledge and understanding with you.